2023-12-20
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เริ่มต้นแนวคิดนักวิทย์ ต้องเริ่มจากครอบครัวนักวิทย์
จะเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกๆ มักมีความสุขเมื่อเห็นเด็กเติบโตพร้อมกับพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นเหมาะสมกับวัย ตั้งแต่คลาน เดิน พูด วิ่ง คู่มือที่คุณแม่ใช้เลี้ยงลูก การสอบถามข้อมูลจากสื่อโซเซียล เป็นการรวบรวมจากแพทย์ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ และจะตื่นเต้นมากขึ้นหากลูกๆ มีทักษะบางอย่างที่ทำได้ดีกว่าเด็กทั่วไป เช่น การพูดภาษาต่างประเทศ การเล่นกีฬา หรือการชนะการแข่งขันกีฬา และหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจการเพิ่มพูนทักษะต่างๆเหล่านี้ เพื่อการต่อยอดจนเกิดสมรรถนะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของเด็ก การคัดเลือกเข้าเรียนต่อ การแข่งขันเพื่อเป็นแถวหน้า และการประกอบอาชีพ ทักษะกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ก็เช่นกัน
เริ่มต้นเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปฐมวัยจะได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่จะเรียนรู้อย่างไรที่จะไม่สร้างความเครียด และแรงกดดัน การเรียนรู้แบบลงมือทำของซายเอนเทียคือคำตอบ เป็นการเรียนรู้อย่างฉลาด ที่ใช้เวลาน้อย แต่ให้ผลในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการสร้างความสุขในการเรียน
การเลี้ยงสัตว์กิจกรรมอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้ร่วมกันในครอบครัว ซึ่งอาจจะยุ่งยาก และเพิ่มค่าใช้จ่าย ให้กับคุณพ่อคุณแม่ ทำให้หลายบ้านละเลยต่อการเรียนรู้ วิทยาสาสตร์ ในรูปแบบดังกล่าว จำนวนโรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยยังมีน้อย โดยเฉพาะในเขตเมือง อาจมีโรงเรียนในเขตห่างไกลมีโครงการเลี้ยงสัตว์จำพวกไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน ซึ่งครูหรือเกษตรกรได้มอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะในการเลี้ยงสัตว์ให้กับเด็กติดตัวเป็นทักษะชีวิตต่อไป
หลายครั้งเด็กประถมได้รับมอบหมายให้เลี้ยงสัตว์ที่บ้าน ซึ่งเป็นสื่อการเรียน เพื่อให้เด็กๆ เข้าใจในคุณลักษณะของสิ่งมีชีวิต ปัจจัย และสภาพแวดล้อมที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต และในบางครั้งเด็กๆ หรือคนในครอบครัว อาจจะไม่ได้มีทักษะและเวลาที่มากพอ ทำให้เกิดความเสียหายแก่สัตว์เลี้ยง ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจในการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้องของครอบครัวควรมีการศึกษา และรวบรวมข้อมูลก่อนการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว มีการลงทุนด้านอุปกรณ์การเลี้ยงที่มีคุณภาพ การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับสัตว์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงเริ่มต้นขึ้นตามด้วยทักษะการเลี้ยงสัตว์ และความสุขก็เกิดตามมา
ในการเริ่มเลี้ยงสัตว์ ปัจจัยพื้นฐานที่ควรรู้ มีอย่างน้อย 4 ข้อ ได้แก่
1. สายพันธุ์ของสัตว์ที่จะนำมาเลี้ยง เด็กๆ ควรเรียนรู้ว่าสัตว์ที่เด็กๆ นำมาเลี้ยงนั้น คือสายพันธุ์ใด มีลักษณะพื้นฐานอย่างไร ข้อดี และข้อเสียของสายพันธุ์นั้น เป็นอย่างไร
2. อาหารของสัตว์ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด มีการกินอาหารที่แตกต่างกัน รวมถึงอายุแต่ละช่วงวัยของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ก็มีความต้องการอาหารในปริมาณที่ต่างกันอออกไป ดังนั้นก่อนที่เด็กๆ จะเลี้ยงสัตว์ จึงควรศึกษาลักษณะอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ประเภทนั้นๆ ด้วย
3. การจัดการดูแล เด็กๆ ควรศึกษาสถานที่ในการจัดเลี้ยง การทำความสะอาดพื้นที่ของบริเวณที่จัดเลี้ยง
4. โรคของสัตว์ นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาของการเลี้ยงสัตว์ เด็กๆ และผู้ปกครองควรศึกษาถึงโรคที่เกิดขึ้นได้กับสัตว์แต่ละสายพันธุ์ รวมถึงโรคระบาด ที่อาจติดต่อผ่านทางสัตว์เลี้ยงได้ ดังนั้นหนึ่งในวิธีป้องกันคือ การนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน และการป้องกันโรคจากแหล่งอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับความสำเร็จจากสิ่งละอันพันละน้อย จนถึงเส้นทางชีวิตนั้นหากเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวซายเอนเทีย การที่เด็กจะประสบความสำเร็จบนเส้นทางของตนเองอย่างมีความสุขก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
1. การที่ฝึกฝนทักษะก่อนเด็กคนอื่น ทำมากกว่าเด็กคนอื่น ทำได้ดีกว่าเด็กคนอื่น อย่างที่เข้าใจว่า ความรู้อาจเรียนทันกันหมด แต่ทักษะที่ทำให้เกิดความชำนาญ และความคิดสร้างสรรค์จำเป็นต้องอาศัยเวลา
2. เมื่อทำได้ดี ย่อมมีความสุข มีความอิ่มใจ มีแรงจูงใจในการจำสร้างทักษะเหล่านั้นให้ดียิ่งๆขึ้นไป ในทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการได้รับสารแห่งความสุขเมื่อร่างกายได้หลั่งออกมา ได้แก่ ฮอร์โมนโดปามีนที่หลั่งออกมาเมื่อได้รับความสำเร็จ
ฮอร์โมนโดปามีน เป็นสารเคมีที่อยู่ในสมอง สร้างมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน เมื่อฮอร์โมนโดปามีนถูกหลั่งออกมาจะส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง ทำให้มีสมาธิมากขึ้น และไวต่อสิ่งกระตุ้นที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว
นอกจากนี้ฮอร์โมนโดปามีนยังเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ ความชื่นชมยินดี ความรักใคร่ ทำให้มีการจัด ฮอร์โมนโดปามีนเป็นสารเคมีแห่งความรัก (Chemicals of love) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกคู่ หรือการจับคู่อีกด้วย
ฮอร์โมนเอนโดรฟิน เป็นสารประกอบเปปไทด์ ที่มีลักษณะคล้ายฝิ่น (opioid) ผลิตมาจากระบบประสาทส่วนกลาง และต่อมใต้สมอง ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ฮอร์โมนเอนโดรฟินมีคุณสมบัติที่ช่วยระงับความเจ็บปวด และลดอาการเครียด และลดอาการวิตกกังวลได้ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นยาระงับปวดตามธรรมชาติได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับ ความรู้สึกหิว และการสร้างฮอร์โมนเพศได้อีกด้วย
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ยังมีทักษะการสื่อสารข้อมูลซึ่งเป็นการแบ่งปันความรู้ที่เกิดขึ้นจะทำให้สารแห่งความสุขจากการให้พวกออกซิโทซิน จะเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่สร้างความสุขให้กับลูกจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการเรียนรู้แบบลงมือทำเพื่อสร้างการจดจำในระยะยาว ในวิชาวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับโลกอนาคต อันเป็นเส้นทางแห่งความสำเร็จของเด็กๆอย่างแน่นอน
ฮอร์โมนออกซิโทซิน สร้างจากต่อมใต้สมอง เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการคลอดลูก และให้นมบุตร และส่งผลให้เกิดความรัก ที่เรียกว่าเป็นความรู้สึกผูกพันของแม่ และลูก หรือเป็นความรักที่เป็นความผูกพันกับครอบครัว และคนอื่นๆ ด้วย มักเกิดขึ้นเมื่อมีการกอด การสัมผัสมือ จะทำให้สมองหลั่งออกซิโตซินมากขึ้น ทำให้ร่างกายรู้สึกผูกพัน เกิดความรัก และความเข้าอกเข้าใจ รวมถึงส่งผลต่อความรักในชีวิตคู่ด้วย
การที่ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินออกมานั้น ส่งผลทำให้ร่างกาย ลดความเครียด เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ได้อีกด้วย
CR. https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/70745
สนใจหรือต้องการจองรอบสามารถทัก Inbox เข้ามาได้เลยรีบหน่อยนะ ที่นั่งมีจำนวนจำกัด
โทร : 085-800-4848
Line : @scientia
Facebook : Scientiakid
👩🔬 เรียนรู้อย่างฉลาด เก่งวิทยาศาสตร์ที่ "ซายเอนเทีย"
👨⚕ เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ จะจดจำได้อย่างยาวนาน
🏆 การันตีผลงานด้วยการสร้างรางวัล สสวท. และระดับนานาชาติ ให้กับเด็กๆ มาอย่างยาวนานกว่า 15 ปี
#Scientia #ซายเอนเทีย #เตรียมสอบ #ค่ายหมอ #ค่ายเตรียมหมอ #ค่ายสายแพทย์ #เตรียมติดหมอ #สอบหมอ #แพทย์ #ทันตะ #สัตวแพทย์ #เภสัช #เทคนิคการแพทย์ #สหเวช #พยาบาล #สาธารณสุข #วิทย์ประถม #ประถม #ค่ายวิทย์ประถม #เด็กประถม #camp